รางแลดเดอร์

ทำความรู้จักกับรางแลดเดอร์

Cable หรือ รางแลดเดอร์ เป็นส่วนหนึ่งในงานติดตั้งอุปกรณ์สายไฟฟ้า ที่นิยมใช้กัน โดยเฉพาะในส่วนของโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ห้างสรรพสินค้า ที่ต้องใช้สายไฟฟ้าจำนวนมาก การใช้รางเข้ามาติดตั้ง จะช่วยทำให้พื้นที่เป็นระเบียบ สวยงาม และเพิ่มความปลอดภัยให้กับพื้นที่ได้ และรางประเภทนี้จะมีจุดเด่นคือระบายอากาศได้ดี ไม่สะสมความร้อน ใช้งานได้ทั้งสายแรงดันไฟฟ้าสูง แรงดันต่ำ และแรงดันปานกลาง

ส่วนการจะเลือกว่าต้องใช้รางขนาดไหนในการติดตั้งเพื่อเดินสายไฟ เจ้าหน้าที่จะต้องมีการคำนวณออกมาเป็นตัวเลขเสียก่อน โปยปรกติ จะใช้คำนวณจากขนาดหน้าตัดของสายไฟ และค่อยเลือกขนาดของสายไฟ แต่เดี๋ยวไม่ยาก เพราะตารางคำนวณ มีคนคำนวณไว้เสร็จสรรพแล้ว หากเราต้องการใช้ก็เพียงแค่เปรียบเทียบดูว่าเราใช้สายขนาดไหน เหมาะกับรางแบบไหน เท่านี้ก็รู้ขนาดของรางที่เราต้องใช้แล้ว

ประเภทของรางแลดเดอร์

ปัจจุบันราง cable ladder ที่มีขายกันตามท้องตลาด จะแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ

1.รางเคเบิลแลดเดอร์แบบพ่นสี

2.รางเคเบิลแลดเดอร์แบบอาบสังกะสี

และในขั้นตอนการประกอบก็แบ่งเป็น 2 แบบเช่นกัน นั่นก็คือการเชื่อมต่อด้วยการขันน็อต กับการใช้แบบเชื่อม ความแตกต่างของกานเชื่อมรางทั้งสองรูปแบบนี้ จะเห็นชัดเลยว่าการเชื่อมให้ความแข็งแรงทนทานกว่า

รางแลดเดอร์

ความแตกต่างของการชุบกัลป์วาไนซ์ กับชุบสังกะสี

เพื่อให้คุณเลือกใช้งานรางแลดเดอร์ได้เหมาะสมกับหน้างาน สิ่งที่ต้องเข้าใจก็คือขั้นตอนในการผลิตหรือว่าการเคลือบเสียก่อน ซี่งจะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ แต่ละแบบก็จะใช้วิธีการทำต่างกัน ลักษณะของการใช้งานก็แตกต่างกันออกไป ได้แก่

1.การชุบกัลวาไนซ์ (Hot-dipped Galvanized)

เป็นกระบวนการเคลือบเหล็กด้วยกัลป์วาไนซ์ อาจจะใช้การชุบ พ่น ทา หรือการจุ่มร้อน โดยการจุ่มร้อนจะมีความหนาของพื้นผิวอยู่ที่ 50-1250 ไมครอน ก็ได้ เพื่อเป็นการป้องกันสนิม เนื่องจากการทำที่มีขั้นตอนหลายอย่าง จึงทำให้เหล็กกัลป์วาไนซ์ มีราคาที่สูง และสามารถใช้งานกลางแจ้งได้โดยไม่เป็นสนิม หรือพื้นที่ที่เสี่ยงเป็นสนิมได้ง่าย เช่น การเดินท่อทางทะเล เป็นต้น อายุการใช้งานของรางก็ยาวนนาน

2.การชุบสังกะสีหรือชุบซิงค์

เป็นการชุบสังกะสีด้วยไฟฟ้าที่คนไทยเรียกกันติดปากว่า อิเล็กโคลทเพลทติ้ง ซึ่งจะมีความหนาอยู่ที่ 5-10 ไมครอน ซึ่งจะบางกว่าการชุบแบบกัลวาไนซ์มาก ลักษณะของการใช้งานรางชนิดนี้ นิยมใช้งานแบบในร่มหรือว่า In door ที่มี่สภาวะเกิดสนิมได้ง่าย แต่ถ้าหากนำไปใช้กับงานกลางแจ้ง รางที่ชุบด้วยวิธีนี้จะเป็นสนชมทันที

อุปกรณ์สำคัญในการติดตั้งรางแลดเดอร์

เนื่องจากรางแลดเดอร์เป็นรางที่ใช้เดินสายไฟเมนหรือสายไฟหลัก ในจุดเชื่อมต่อต่างๆ จะต้องมีอุปกรณ์เสริมอย่างครบถ้วน ได้แก่

  • ข้อต่อตรง
  • ข้อต่อลงตู้
  • ข้อต่อบานพับ
  • ข้อยึดเพดาน
  • ข้อต่อโยกขึ้นลง
  • ข้อโยกคอม้า
  • แป้นยึดกำแพง
  • เจล็อค
  • ข้อลดความกว้าง
  • แผ่นกันกลาง

สรุปเกี่ยวกับรางแลดเดอร์

จากเนื้อหาทั้งหมดพอจะสรุปได้ว่า หากต้องการใช้รางแลดเดอร์จะต้องรู้ว่าจะใช้งานในลักษณะไหน ในร่มหรือกลางแจ้ง และต้องรู้ขนาดของรางจากการคำนวณขนาดหน้าตัดของสายก่อน เพื่อความเหมาะสม สุดท้ายก็คือการติดตั้งอย่างถูกวิธีด้วยเจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์ เพื่อให้ได้มาตรฐานการติดตั้งตามข้อกำหนด วสท.